นางรุจิรา แดงจันทึก

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง                  รายงานการใช้และพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
ชื่อผู้รายงาน         นางรุจิรา  แดงจันทึก
ปีการศึกษา            2554

บทคัดย่อ
                การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนใช้กับหลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน   กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยหิน(ศิลาคามส่ำผดุง)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีการศึกษา 2554  จำนวน  19  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่  หนังสือส่งเสริมการอ่าน 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่   6 จำนวน 8  เรื่อง  แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน  จำนวน  8  ชุด  ชุดละ  10  ข้อ   แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่  6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน  จำนวน  5  ข้อ  ในการหาค่าประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ตามเกณฑ์  80/80  คำนวณจากสูตร  E1 / E2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนเรียนและหลังเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  t-test  (Dependent)  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านจับใจความ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ  ( )   ค่าเฉลี่ย  ( )  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ( )  การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบหลังเรียน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ค่าความยาก  (p)  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  และ ค่าความเชื่อมั่น  (rtt)  
                ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง  8  เรื่อง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  โดยจำแนกแต่ละเรื่อง ดังนี้
1.1  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง แม่กนของคำจันทร์  มีประสิทธิภาพเท่ากับ   
93.16/92.63  สูงกว่าเกณฑ์  80/80

1.2  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง ผมแกละรู้แม่กก  มีประสิทธิภาพเท่ากับ
91.05/93.16   สูงกว่าเกณฑ์  80/80
                                1.3  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง น้ำใจเศรษฐี  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 
94.74/92.11  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
                                1.4  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง พี่สอนน้อง  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 
93.16/93.16  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
                                1.5  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง สำนวนของพลายงาม  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  94.74/93.68  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
1.6  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง หนุมานชาญอักษร   มีประสิทธิภาพเท่ากับ
93.68/93.68  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
1.7  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง สายชลคนขยัน มีประสิทธิภาพเท่ากับ
94.21/93.6883  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
1.8  หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง แม่มดครู  มีประสิทธิภาพเท่ากับ
96.32/94.21  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
             โดยสรุปประสิทธิภาพโดยภาพรวมของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  เท่ากับ  93.88/93.22  สูงกว่าเกณฑ์  80/80
2.  คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  หลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านแต่ละเรื่องสูงกว่าก่อนใช้หนังสืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  ทั้ง 8  เรื่อง
                3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 มีความพึงพอใจต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเฉลี่ย  2.83
อยู่ในระดับมาก